วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555


สมาธิ ยามเช้า ฝึกจิต









อบรมธรรม 
 
เดินจงกรมยามอรุณรุ่ง

                










ออกรับบิณฑบาตร












วันสุดท้ายของโครงการ

 รับประกาศนียบัตร



 

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รุ่นทองสัมฤทธิ์

พระครูพรหมธรรมาภรณ์กำลังบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน



การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน


วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัดพรมศิลาแตล




วัดพรมศิลาแตล

การบริหารและการปกครองลำดับเจ้าอาวาส  วัดพรมศิลาแตล
๑.พระอาจารย์ยา                                 พ.ศ.  ๒๑๘๑
๒.พระอาจารย์คู
๓.พระอาจารย์ขันธ์
๔.พระอาจารย์บุตร
๕.พระอาจารย์แย้ม
๖.พระอาจารย์คำ
๗.พระครูธีรคุณาจารย์                           พ.ศ.๒๔๔๗-๒๔๙๕
๘.พระครูอรุณธรรวิภัชน์                         พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๒๕
๙.พระอธิการคำ  ธมฺมโชโต                      พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๗
๑๐.พระครูพรหมธรรมาภรณ์                         พ.ศ.๒๕๒๘-ปัจจุบัน

 
ภาพยามอรุณรุ่ง    พรมศิลาแตล
การดำรงค์ชีวิตนั้นต้องทำสิ่งที่ใกล้ตาและใกล้ตัว
     สมณะ  หมายถึง  ผู้สงบ  ผู้มีบาปที่สงบแล้ว  ถ้าบุคคลทั่วไป  หมายถึง  ผู้มี กาย วาจา ใจ ที่สงบ  มีความประพฤติเรียบง่ายสม่ำเสมอ  สำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ดิ้นรนไปตามกระแสของกิเลส  ถ้าหมายถึงนักบวชในพระพุทธศาสนา คือ  พระสงฆ์  ที่เป็นสมมติสงฆ์  และอริยสงฆ์

 
พระครูธีรคุณาจารย์อดีตเจ้าอาวาส  วัดพรมศิลาแตล
พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๙๕
อดีตเจ้าอาวาสวัดพรมศิลาแตล พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๒๕
อดีตเจ้าอาวาสวัดพรมศิลาแตล พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๗
 
อาคารสถาน
 
ที่บรรจุสารีริกธาตุ





กุฏิ ปญฺญาวโร
ของพระมหามังกร   สร้างเป็นอนุสรณ์สถาน
พระนักพัฒนาหลายๆจังหวัดในภาคอีสาน



ด้านกิจกรรม
การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
       ความเป็นมาของโครงการ
 ด้วยสภาพสภาวะทางสังคมปัจจุบันนี้ เป็นสภาวะที่ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย และอยู่ในสภาพที่ยุ่งยาก เพราะบุคคล ซึ่งอยู่ร่วมกันนั้น ขาดระเบียบ วินัย กอปรกับบุคคลในสังคมนั้นถูกละเลยเพิกเฉยในการฟื้นฟู จิตใจ และการปลูกฝังศีลธรรมบุคคลในสังคมนั้นก็จะมีสภาพจิตใจที่เสื่อมโทรม ด้วยสภาวะแวดล้อมต่างๆ จึงส่งผลออกมาในรูปปัญหาของสังคม เช่น ปัญหา อาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหา ครอบครัว ปัญหาเด็กและเยาวชน เหล่านี้เป็นต้น ฉะนั้น การพัฒนาความรู้การปลูกฝังคุณธรรมจึงต้องควบคู่กันไป

 ด้วยเหตุนี้ พระครูพรหมธรรมาภรณ์ ประธานโครงการ จึงได้ให้มีการบรรพชา อบรมสามเณรภาคฤดูร้อนขึ้น เพื่อที่จะช่วยพัฒนา เยาวชนในสังคมให้มีความรู้ควบคู่กับคุณธรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการฝึกฝนอบรมตนเองตามพุทธวิธี
2. เพื่อให้เยาวชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. เพื่อรู้หลักในการศึกษาพระพุทธศาสนา และหลักการเจริญ สมาธิภาวนา
4. เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา
คุณสมบัติ
1. มีอายุ 10 ปีขึ้นไป
2. มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ไม่ทุพพลภาพ ( พิการ )
3. กล่าว คำขอบรรพชา ได้ด้วยตนเอง และอยู่จนครบกำหนดโครงการอบรม
4. เป็นผู้อยู่ง่าย กินง่าย ไม่เป็นภาระแก่ตนเองและผู้อื่น



ภาพกิจกรรม